ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

ปัญหาสุขภาพทั่วไป

เบาหวาน

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เบาหวานเป็นอีกโรคหนึ่งที่ป้องกันได้ และการป้องกันดีกว่าการแก้ไข ไม่ว่าภาวะโรคจะรุนแรงในระดับใด ชีววิถีที่ถูกต้อง ช่วยบรรเทาได้ แต่โชคร้ายที่ผู้ป่วยในภาวะนี้ มักฟังไม่รู้เรื่อง เนื่องจากภาวะน้ำตาลในกระแสเลือด ทำให้เลือดข้น หนืด นำออกซิเจนไปสู่สมองได้น้อย ประสิทธิภาพจึงลดลง กอปรกับขาดความเข้าใจพื้นฐาน หวังพึ่งแต่สิ่งที่ทำให้หายทันที หรือหายขาด ไม่รับฟังหรือรับรู้เหตุแห่งปัญหา แล้วแกที่สาเหตุ ทำให้พลาดโอกาสการอยู่ร่วมกับโรคอย่างไม่ทุกข์ทรมานไป

สาเหตุ

ความรู้ที่กล่าว คือ ต้องเข้าใจว่าเบาหวานมาจากการกินมากเกินใช้ โดยเฉพาะกลุ่มคาร์โบไฮเดรต คือ พวกแป้ง ข้าวขาว ขนมปัง ของหวาน ต่อเนื่องเป็นเวลานานนับสิบปี เมื่อผสานกับขาดการออกกำลัง น้ำตาลในเลือดที่ล้นเกิน เป็นตัวกระตุ้นให้สร้างอินซูลิน ออกมาค้างคาในกระแสเลือด ซึ่งภาวะอินซูลินสูงเรื้อรัง ผสานกับการได้รับแต่ไขมันเลว เช่น ไขมันทรานส์ ขาดน้ำมันปลา ก่อภาวะเซลล์ดื้ออินซูลินเร็วขึ้น อินซูลินจะก่ออักเสบแก่หลอดเลือดไปเรื่อยๆ พร้อมกับภาวะดื้ออินซูลิน พาน้ำตาลกลูโคสส่วนเกินไปสะสมที่เซลล์ไขมัน ได้เป็นความอ้วน จนกระทั่งเต็มอัตราที่เซลล์ไขมันจะทำการสะสมได้ ก็มาถึงภาระที่ไตต้องทำงานหนักเพื่อขับน้ำตาลออกไป ได้เป็นเบามีรสหวาน หรือมีน้ำตาลในปัสสาวะนั่นเอง นานเข้า ผลแห่งการอักเสบของหลอดเลือด ทำให้ผนังแข็ง ผสานกับความหนืดข้นของเลือด ส่งผลให้เกิดความดันสูง เป็นโรคหัวใจหลอดเลือด หย่อนสมรรถภาพทางเพศ สมองเสื่อม เมื่อถึงเวลาที่ไตรับภาระงานไม่ไหว ก็ต้องเสื่อมสภาพไปในที่สุด หากมีบาดแผลก็หายยาก เพราะเลือดที่หนืดข้น ไม่สามารถนำเม็ดเลือดขาวหรือยาที่กิน ไปสู่จุดที่มีเชื้อโรคได้เพียงพอในขณะที่น้ำตาลในกระแสเลือดก็เป็นอาหารโอชะของเชื้อโรค ทำให้แผลติดเชื้อลุกลามจนต้องตัดอวัยวะนั้นทิ้งไป

ดังนั้นกว่าจะมาถึงสภาวะตามชื่อ “เบาหวาน” คือ เบาหรือปัสสาวะมีรสหวานเนื่องจากมีน้ำตาลปนออกมา ก็แปลว่าการก่อตัวของโรคที่เริ่มจากกินมากเกินใช้ ได้ลุกลามไปจนเกือบถึงระยะสุดท้ายแล้ว

เบาหวานจึงมิใช่เป็นปุ๊ปปั๊ป หรือเกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วนแต่อย่างไร คำโบราณที่ว่า “หวานเป็นลม ขมเป็นยา” ก็น่าจะเพราะรู้ว่า น้ำตาล ของหวานเป็นสิ่งไม่ดี ขณะกินมากๆ เข้าไปในครึ่งชั่วโมง จะมีการโหมหลั่งอินซูลินออกมา เพื่อนำพาน้ำตาลไปใช้ จนทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ก้อเป็นลมตามมา นี้เป็นภาวะในระยะเริ่มแรก ก่อนที่จะถึงว่าที่เบาหวาน หรือเซลล์ดื้อต่ออินซูลิน

สาเหตุของภาวะเซลล์ดื้ออินซูลิน อธิบายจากโครงสร้างของเซลล์ ได้ว่าปัจจัยหนึ่ง มาจากไขมันที่นำมาสร้างผนังเซลล์ เป็นไขมันเลว เช่น อิ่มตัวสายโมเลกุลยาว ไขมันทรานส์  ขาดซึ่ง EPA หรือโอเมก้า3 ทำให้ขาดความนุ่ม หยุ่น สารอาหารซึมผ่านได้ไม่ดี โดยเฉพาะผนังของไมโตคอนเดรีย ซึ่งสร้างด้วยไขมันถึง 90% เมื่อขาดโอเมก้า3 กลูโคสนำอินซูลินผ่านเข้าไปสันดาปไม่ได้ การใช้น้ำตาลก็ไม่เกิดขึ้น…นี้เป็นที่มาของเบาหวานชนิดดื้ออินซูลิน ในเด็กวัยรุ่น

ผลจากเซลล์ดื้ออินซูลิน หรือไม่มีการใช้น้ำตาล ทำให้อินซูลินต้องคงระดับสูงในเลือดเพื่อนำกลูโคสไปหาจุดต่างๆ ทั่วร่างกายให้แปลงสภาพน้ำตาลออกไป ซึ่งภาวะอินซูลินสูงเรื้อรังนี้ เราเรียกว่า “ซินโดรมเอกซ์” หรือเมตาบอลิกซินโดรม จะเริ่มมีสิ่งตรวจพบได้ เช่น พบน้ำตาลในเลือดสูง หลังอาหาร 2 ชม. น้ำหนักตัวจะเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นแบบ Central obesity กล่าวคือ อ้วนลงพุง วิธีดูง่ายๆ คือ รอบเอวมากกว่า 33” หรือ 80 ซม.ในหญิง หรือเกิน 36” หรือ 90 ซม.ในชาย

หรือคำนวณให้ชัดเจนด้วยสูตร “ดัชนีมวลกาย” โดยใช้ น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร ยกกำลังสอง หากผล BMI (body mass index – ดัชนีมวลกาย)

ออกมาเกิน 30 แปลว่า โรคอ้วน

น้อยกว่า 18 คือ ผอมไป

18 – 25 จัดเป็นระดับปกติ 

สูงกว่า 25  หมายถึงเริ่มเข้าภาวะอ้วน

หากยังไม่แก้ไขเมื่อมีซินโดรมเอกซ์เตือนมา จะเริ่มสู่ภาวะความดันเลือดสูง ไขมันจับหลอดเลือดมากขึ้น เกิดหลอดเลือดอักเสบ  แข็ง ตีบตัน เป็นจุดเริ่มของโรคหัวใจหลอดเลือดในที่สุด

 

การแก้ไขเบื้องต้น 

การแก้ไขโรคอ้วนนั้นยังทำได้ อันจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายไม่ดำเนินต่อไป ได้แก่ ลดการบริโภคน้ำตาล  แป้ง  ข้าวขาว  คุมปริมาณโปรตีนไม่เกิน 200 กรัม/วัน หรือ 2 ฝ่ามือ  เพิ่มผักผลไม้หวานน้อย และออกกำลังกายพอเหมาะ ซึ่งหลักการออกกำลังกายที่ถูกต้อง คือ 60% MHR (ดู”คำศัพท์ในแวดวง”)

 

อาการ/การแก้ไข

การออกกำลังกาย ควรครั้งละมากกว่า 15 นาที  เพราะพบว่า เมื่อออกกำลังกายสม่ำเสมอ 15 นาทีขึ้นไป ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารกระตุ้นสมอง ที่เรียกเอนดอร์ฟิน มีฤทธิ์คล้ายฝิ่น  คือ เกิดความรู้สึกสุขสบาย อารมณ์แจ่มใส ผลพลอยได้จากการหลั่งเอนดอร์ฟิน คือ ฤทธิ์คลายอักเสบ  คลายเครียด  ดังนั้น  เวลาที่เกิน 15 นาทีของการออกกำลังกายจะมีการสะสมเอนดอร์ฟินที่หลั่งออกมา เอนดอร์ฟินนี้สามารถคงสภาพอยู่ได้ 24 ชม. จึงควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันเว้นวัน

เราสามารถอธิบายปรากฏการณ์ หรืออาการที่เกิดในคนเป็นเบาหวาน ตามสาเหตุหรือปัจจัยต่างๆ พร้อมแก้ไขตามแต่สภาวะได้ เช่น

กระหายน้ำบ่อยๆ  เพราะเลือดข้น  น้ำตาลสูง  ไตต้องขับน้ำตาลทิ้ง พาน้ำออกไปด้วย ภาวะนี้ต้องเพิ่มน้ำ  ซึ่งน้ำที่ดีควรมีสภาวะด่าง  ไม่มีน้ำตาล

ปัสสาวะบ่อย เป็นสิ่งที่พบในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะไตต้องขับน้ำตาลส่วนเกินในเลือดทิ้งไป

หิวง่าย แม้มีน้ำตาลล้นเกินในเลือด แต่ก็นำเข้าไมโตคอนเดรีย ไปใช้งานไม่ได้ ทำให้เซลล์ขาดพลังงาน จึงส่งสัญญาณสู่สมองให้หากินเพิ่ม แบบว่า “อยากน้ำตาล” ควรแก้ด้วยผลไม้ที่หวานน้อย มีกากใย ไม่ใช่กินของหวานหรือลูกอมตามใจอยาก อาหารที่ช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน คือ โครเมียม แมกนีเซียม สังกะสี น้ำมันปลา

น้ำหนักลด เป็นอาการบั้นปลายของเบาหวานหลังจากอ้วนมานาน เมื่อเซลล์ขาดพลังงานเพราะดื้ออินซูลิน  ร่างกายก็ต้องนำพลังงานสะสม ในรูปโปรตีนที่เนื้อกล้ามและตับ ออกมาใช้ทดแทน  ทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลง จึงควรใช้สารจากอบเชย ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน

เหนื่อยเพลียง่าย ก็เนื่องจากเซลล์ขาดพลังงาน หรืออาจขาดโคคิวเทน หรือสารที่เพิ่มอัตราเผาผลาญในเซลล์

น้ำมันมะพร้าวจะมีบทบาทสำคัญในภาวะนี้ เพราะเป็นสิ่งที่เซลล์นำไปใช้เป็นพลังงานได้เลย โดยไม่ต้องพึ่งพาอินซูลินเป็นตัวนำเหมือนกรณีของน้ำตาล

หายใจเร็ว เพราะเหนื่อยจากการที่เลือดไหลเวียนช้า นำพาออกซิเจนไปแลกเปลี่ยนที่ปอดได้น้อยลง ก็ต้องแก้โดยสูดหายใจลึกๆ  ใช้การฝึกสมาธิช่วย สารสกัดหลินจือมีบทบาท ตามทฤษฎีประหยัดออกซิเจน

สายตาพร่ามัว เนื่องจากน้ำตาลท่วม ในหลอดเลือดฝอยของจอตา ต้องเร่งลดน้ำตาลในเลือด กรณีนี้ กรดไลโปอิคเข้ามาช่วยต้านอนุมูลอิสระที่อาจซ้ำเติมจอตาและจอประสาทตา แปะก๊วยช่วยลดความหนืดข้นของเลือด ให้ไหลเวียนดีขึ้น

อาการปวดศีรษะ มึนงง เพราะขาดออกซิเจนจากเลือดไหลหนืด สิ่งที่พอบรรเทาการเกาะตัวของเลือด เช่นหลินจือ หรือแปะก๊วย  รวมทั้งน้ำมันปลา วิตามินอี

อาจพบอาการเสียว ชาปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เนื่องจากขาดเลือดไปถึง แต่ก็อาจเนื่องจากขาดวิตามินบี หรือน้ำมันปลา EPA ได้ด้วย

ความดันที่สูงขึ้น เนื่องจากเลือดหนืด ผนังหลอดเลือดอักเสบ แข็งกระด้าง หัวใจหมดแรงดูดเลือดดำกลับ พองตัวหรือคลายตัวไม่ดีพอ อาจต้องเพิ่มโคคิวเทน และแมกนีเซียม รวมถึงอาหารลดความดันอื่นๆ

อาจมีอารมณ์แปรปรวนเนื่องจากสมองขาดเลือด ก็เหตุเดียวกับอาการปวดศีรษะ การดื่มน้ำพลังแม่เหล็กก็สมควรพิจารณา

บาดแผลหายช้า เพราะขาดเม็ดเลือดขาวและออกซิเจน มีแต่น้ำตาลเป็นอาหารแบคทีเรีย และเชื้อราก็เกาะกินได้ง่าย นอกจากการใช้ปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งหรือผ่าตัดแล้ว สารอาหารโอพีซี พอช่วยได้สำหรับระดับโรคที่ไม่รุนแรงนัก

 

ผู้เชี่ยวชาญหลายสถาบันแนะนำสารเสริมที่ควรใช้มีส่วนช่วย หรือผู้ป่วยมักขาดไป ทำให้โรคกำเริบในภาวะต่างๆกัน สารที่เป็นที่ยอมรับค่อนข้างมากได้แก่ โครเมียม วิตามินบีทั้งหลาย สังกะสี และโคคิวเทนความรู้พื้นฐาน สู่การพึ่งตนเอง ก่อนจะต้องใช้ยา

สารอาหารที่ไม่ควรขาดนอกจากบีรวม น้ำมันปลา คือ โครเมียม ใช้ขนาด 200 – 600 มคก./วัน โครเมียมมีอยู่ในกะเพรา, บริวเวอร์ยีสต์ เป็นต้น

สังกะสี 15 – 80 มก. รวมไปถึงทีม Antox เช่น กรดไลโปอิค, โอพีซี, วิตามินซี, โคคิวเทน ตลอดจนหลินจือ แปะก๊วย

แมกนีเซียมก็เป็นสารสำคัญ ที่สมาคมเบาหวานอเมริกา ระบุว่า ผู้ป่วยเบาหวาน ควรดื่มน้ำแร่ที่มีแมกนีเซียม และโครเมียมอยู่ด้วย ขนาดแมกนีเซียม ที่ร่างกายต้องการประจำวัน  คือ 6 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

ในหญิงให้นมบุตร ควรเลี่ยงนมวัวในระยะ 1 ขวบปีแรก  เพราะเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้  ทำลายเบต้าเซลล์ของตับอ่อน  ทำให้สร้างอินซูลินไม่ได้ เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินที่พบในเด็ก

น้ำมันมะพร้าว โรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 (ขาดอินซูลินแต่เกิด) และชนิดที่ 2 (ดื้ออินซูลิน) ทำให้ต้องเพิ่มการฉีดมากขึ้น นอกจากฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสที่อาจทำลายเซลล์ตับอ่อนจนก่อเบาหวานแล้ว กรดลอริคที่มีอยู่สูงมาก (48 – 52%) ของน้ำมันมะพร้าวช่วยฆ่าเชื้อโรค แล้วยังกระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้นพบว่า น้ำผึ้งมีฟรุคโตส ซึ่งเชื่อว่าถูกนำไปสู่เซลล์โดยไม่ต้องพึ่งพาอินซูลิน จึงน่าจะเป็นแหล่งพลังงานสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดต้องพึ่งพาอินซูลิน

ที่สำคัญ คือ ความเป็นไขมันอิ่มตัวสายโมเลกุลปานกลาง (MCT) ของน้ำมันมะพร้าว สามารถดูดซึมผ่านผนังเซลล์เข้าสู่ไมโตคอนเดรียได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยอินซูลินเป็นตัวนำ จึงเหมาะในผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยลดอาการอ่อนเพลีย อยากอาหาร เนื่องจากมีน้ำตาลแต่เซลล์ดื้ออินซูลิน นำกลูโคสไปใช้ไม่ได้ แต่ MCFA (กรดไขมันขนาดกลาง)ในน้ำมันมะพร้าว สามารถใช้เป็นอาหารหล่อเลี้ยงเซลล์โดยไม่ต้องพึ่งอินซูลินพาเข้าสู่เซลล์ (MCFA เข้าสู่เซลล์ได้เอง) ทำให้ผู้ป่วยไม่ขาดอาหาร เบาหวานทุเลา แต่ก็ไม่ใช่กินเอา กินเอา เผาผลาญไม่ทันพลันอ้วนซ้ำ !

น้ำมันพืชสายโมเลกุลยาวทั้งหลายทำให้อ้วน สันดาปได้ช้า ทำให้เฉื่อยชา อีกทั้งมีโอเมก้า6 สูงเกินอัตราของโอเมก้า3 ก่ออักเสบ ก่อโรคหัวใจหลอดเลือดสารพัด จึงถูกห้ามใช้ใน ผู้ป่วยเบาหวาน

แต่น้ำมันมะพร้าวให้คุณประโยชน์ออกฤทธิ์ตรงข้ามกับน้ำมันพืชทั่วไป…จึงใช้ได้ดี การบริโภคน้ำมันมะพร้าวประจำ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน…ขนาดที่ใช้คือ 0.3 – 1 กรัม/กก.น้ำหนักตัว หรือ 2 – 4 ช้อนโต๊ะ/วัน

ข้อยกเว้น คือ ผู้ป่วยในระยะคีโตซิส (Ketosis) คืออาการมากขนาดเกิดสารคีโตน สะสมในเลือด ไตเสียเสื่อมสภาพ ตรวจพบ acetone bodies ในปัสสาวะ

 

การรักษาด้วยชีวโมเลกุล

ด้วยหลักการใช้เซลล์ตับอ่อนจากลูกวัวที่ยังมีคุณสมบัติของmessenger RNA (จดจำเป้าหมายอวัยวะตั้งต้นเดียวกันได้ ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะของคนหรือสัตว์) ไปซ่อมแซมเซลล์ตับอ่อนเพื่อให้ตับอ่อนคืนสภาพ สามารถสร้างอินซูลินและเป็นการแก้ปัญหาของโรคที่ต้นเหตุ มีรายงานว่า สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 ที่ยังมีตับอ่อนเหลืออยู่ให้ซ่อมได้ กลับคืนสภาพจนสามารถเลิก หรือลดการฉีดอินซูลิน หรือยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในเมืองไทย อบเชยเป็นสิ่งหาง่ายและมี บทบาทสูง อย่างน้อยๆ ก็ช่วยลดการดูดซึมกลูโคสจากทางเดินอาหาร ลดภาวะดื้ออินซูลิน ขนาดที่แนะนำคือ 1 ช้อนชา พร้อมอาหาร

หากมีตับเสื่อมร่วมด้วย ก็ควรเพิ่มชีวโมเลกุลเซลล์ตับ 10 – 30 วัน

กรณีที่ผู้ป่วยเป็นเบาหวานมานานจนมีอาการของไตเสื่อมสภาพ ก็จำเป็นต้องให้เซลล์ของไตไปซ่อมแซมไตด้วย นอกเหนือจากสารสกัดหลินจือ ต่อเมื่ออาการเสื่อมสภาพของไตดีขึ้นจึงค่อยเพิ่มน้ำมันปลา แมกนีเซียม โคคิวเทน ฯลฯ

การรักษาเบาหวาน  ต้องทำพร้อมกันเป็นสามประสาน ตั้งแต่ อาหารที่ดี ออกกำลังพอเหมาะ เพิ่มพลังสมาธิลดเครียด

 

*  สรุปการรักษาเบาหวาน

  1. ใช้เซลล์ตับอ่อน 1x3 + อวัยวะรวม 1x1 (เซลล์ตับ และไต แล้วแต่ภาวะแทรกซ้อนเฉพาะราย)
  2. หลินจือ 2x3
  3. จิบน้ำแมกนีเซียม แทนน้ำดื่มตลอดวัน
  4. ใช้ทีมสารต้านอนุมูลอิสระที่มีกรดไลโปอิค โอพีซี, โคคิวเทน, วิตามินซี (ใช้แบบรวมในเม็ดเดียวกันได้) และน้ำมันปลา อย่างละ วันละ 1x2
  5. โคลีน บีรวม และแร่ธาตุสังกะสี อย่างละ 1x1
  6. อบเชย 1 ช้อนชา พร้อมอาหาร
  7. ใช้น้ำมันมะพร้าว ใบกะเพรา ปรุงอาหารเป็นต้น
  8. ออกกำลังกาย พักผ่อนนอนหลับเพียงพอ

โดยผู้ที่ฉีดอินซูลินหรือใช้ยาลดน้ำตาลก็ยังใช้ตามปกติไปก่อน แล้วลดยาลงตามแพทย์สั่ง เมื่อผลเลือดปรากฏอาการดีขึ้น

ในผู้ป่วยโรคไต หรือต้องล้างไต ควรงดรายการที่ 3 – 5 ไว้ก่อน

EasyCookieInfo