ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

ปัญหาสุขภาพทั่วไป

ความดันโลหิตสูง

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

มีผลการสำรวจ พบว่า โรคที่คนกลัวเป็นมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ คอเลสเตอรอลสูง ความดันสูง และเบาหวาน ในขณะที่โรคที่เป็นจริงๆ มากสุด คือ ความดันสูง (Hypertension)

        ในผู้คนที่พ้นวัยรุ่น ทุก 5 คน จะพบผู้เป็นโรคความดันเลือดสูงอยู่ 1 คน (20%) และมักไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้อยู่ อีกทั้ง 7 ใน 10 ของผู้ป่วยโรคนี้ มักไม่สามารถควบคุมความดันให้กลับสู่ปกติได้ ผลคือ โรคแทรกซ้อน อันตรายต่อชีวิตติดตามมา

        ความดันสูง เป็นตัวอย่างของโรคแห่งความเสื่อมอันหนึ่งที่ป้องกันได้ และการป้องกันดีกว่าการแก้ไข เพราะเมื่อเกิดผลความดันสูงแล้ว มักมีปัญหาอื่นตามมาอีกมากมาย กลายเป็นต้องคอยแก้ไขรักษาปัญหาต่อเนื่อง  ซึ่งบางอวัยวะก็สูญเสียไปแล้ว

        ความรู้ทางการแพทย์ปัจจุบัน พบว่าความดันเลือด  มิได้เพิ่มขึ้นตามอายุขัย  โดยตัวเลขปกติ  คือ  120/80  มม.ปรอท  เลขตัวบนเป็นความดันขณะหัวใจห้องล่างบีบตัว (Systolic Pressure–SP)  ส่วนเลขตัวล่างเป็นความดันในหลอดเลือดขณะหัวใจห้องล่างคลายตัว (Diastolic Pressure–DP)  หากมีตัวเลขที่มากขึ้น ย่อมบ่งว่ามีความผิดปกติของหลอดเลือดเกิดขึ้น

 

นิยามของโรคความดันเลือดสูง

คือวัดความดันเลือด  แล้วพบว่าผิดปกติ  อย่างน้อย  2  ครั้งขึ้นไป ที่ว่าผิดปกติ  คือ  มีค่า SP >= 140 มม.ปรอท และ/หรือ  DP >= 90 มม.ปรอท หรือผู้ป่วยที่กำลังได้รับยาลดความดันอยู่แล้ว วัดได้ความดันเลือดเป็นปกติ โดยบางคนจะสูงเฉพาะค่าใดค่าหนึ่งก็ได้ ในทางแพทย์จะถือเอาตัวเลขตั้งแต่ 160/95 มม.ปรอท ขึ้นไป  กล่าวคือมีความดันตัวบนสูงกว่า 160 หรือมีความดันตัวล่างมากเกิน 95

        ฟังดูอาจสับสน บางคนจึงใช้หลักว่า หากตรวจพบความดันเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มม.ปรอท  ถือ เป็นนัยสำคัญ ที่ต้องหาหนทางลดความดันด้วยวิถีธรรมชาติในเรื่องเกี่ยวกับอาหาร การออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียด  ดำเนินชีวิตลดเลี่ยงปัจจัยที่เป็นพิษต่างๆ ไปพลางก่อน หากพบว่าความดันขึ้นไปถึง  160/95  แปลว่าจำเป็นต้องใช้ยาลดความดันอย่างเลี่ยงมิได้  เพื่อผ่อนคลายโรคแทรกซ้อนต่างๆ  เช่น อัมพาต  อัมพฤกษ์  ไตวาย  ตลอดจนอันตรายถึงชีวิต

 

อันตราย

        ความดันทุกมม.ปรอทที่เพิ่มขึ้น หมายความว่า แม่ปั๊ม คือ หัวใจ  ต้องทำงานหนักขึ้น โอกาสอ่อนล้าเสื่อมสภาพย่อมตามมา หรืออีกนัยหนึ่ง  ผู้ที่มีความดันเลือดสูงขึ้น  น่าจะมีอายุสั้นลง  เพราะหัวใจอ่อนล้าจากงานหนักกว่าปกตินั่นเอง ผู้ป่วยความดันเลือดสูงที่มิได้รับการรักษา จะมีอายุสั้นลงกว่าบุคคลปกติ  10 – 20  ปี  เนื่องจากเกิดการแข็งตีบตันของหลอดเลือดเร็วขึ้น  ยิ่งความดันสูงมากเท่าไร  สิ่งนี้ก็ยิ่งเกิดรุนแรงและเร็วมากขึ้น

        ความดันเลือดสูงมีความสัมพันธ์อย่างมากกับโรคไตชนิดต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นโรคไตอักเสบ  ไตวายเฉียบพลัน  ไตวายเรื้อรัง  หรือโรคไตจากเบาหวาน  ความดันเลือดสูงอาจเกิดขึ้นก่อน แล้วส่งผลให้เป็นโรคไตตามมาภายหลัง  หากมิได้รักษาโรคความดัน… หรือผู้ที่เป็นโรคไตอยู่แล้วหากมิได้รับการรักษา  โรคที่จะตามมาแน่ๆ ก็คือ ความดันเลือดสูง

        การสำรวจในประเทศญี่ปุ่น  พบว่า  ผู้ป่วยที่มีค่า Systolic BP > 140 มม.ปรอท และ Diastolic BP > 90  มม.ปรอท  มีโอกาสพบโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นแปรผันตามค่าความดันเลือดที่สูงขึ้น ส่วนผู้ป่วยความดันสูงที่มีโรคไตอยู่ก่อน หากมีความดันเลือดสูงมาก จะทำให้มีอัตราการเสื่อมของไตเร็วกว่าผู้ป่วยโรคไตที่มีความดันโลหิตสูงที่น้อยกว่า กรณีที่มีความดันสูงเพียงเล็กน้อย โดยยังมิได้มีการเสื่อมเสียของอวัยวะปลายทาง หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นในระยะ  7 – 10  ปี  โดยที่เกือบ  30%  จะเกิดหลอดเลือดแข็งตีบตัน  มากกว่า 50% จะเกิดผลเสียต่ออวัยวะปลายทาง เช่น หัวใจโต หัวใจล้มเหลว โรคของประสาทตา เป็นต้น ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นโรคความดันเลือดสูงเพียงเล็กน้อย ก็จะก่อให้เกิดอันตรายได้ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข

 

แนวทางแก้ไข

        เมื่อพิจารณาจากโครงสร้าง ที่เกี่ยวข้องกับความดันเลือดแล้ว สามารถเปรียบเทียบง่ายๆ กับปั๊มน้ำ ที่มีท่อโยงใยถึงกันเป็นระบบปิด โดยบั้นปลายท้ายสุดน้ำที่ปั๊มก็กลับมาสู่แม่ปั๊ม…ความเสียหายหรือปัญหาจึงเกิดได้หลายจุดหลายขั้นตอน ซึ่งแน่นอนว่าวิธีแก้ไขก็แล้วแต่ต้นเหตุหากค้นพบได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นผลลัพธ์รวมของหลายจุด จึงใช้วิธีแก้ไขแบบเหวี่ยงแห หรือครอบคลุมหลายปัจจัยเข้าไว้  สารอาหารจึงมีประโยชน์มาก เนื่องจากเกิดพิษภัยรุนแรงได้น้อยหากได้รับเพิ่มโดยมิใช่สาเหตุที่แท้จริง ในขณะที่ยาลดความดัน ยาขับปัสสาวะ ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ ฯลฯ  ล้วนมีผลข้างเคียงที่อันตราย

        เราลองมาดูทีละจุดต้นเหตุที่เกิดได้ ตั้งแต่จุดแรกที่ออกจากปั๊มน้ำก็คือหลอดเลือดแดง หากมีเหตุปิดกั้นทางไหลของน้ำ เช่น หลอดเลือดหดตัว  ผนังท่อแข็งกระด้าง  ความหยุ่นหายไป  มีอะไรอุดท่อ น้ำในท่อข้นหรือหนืดก็ไหลยากต้องเพิ่มแรงดันมาก แล้วยังสิ่งกดดันภายนอกท่อ มาทำให้ท่อยืดหยุ่นไม่ได้ ตลอดจนตัวแม่ปั๊มมีสนิมหรือเสื่อมสภาพ รับน้ำไหลกลับได้น้อยในขณะที่ปั๊มก็ยังต้องปั๊มอยู่ ก็เป็นการเพิ่มความดันในท่ออีกทางหนึ่ง

  1. หลอดเลือดแดง เป็นจุดที่น่าจะเป็นปัจจัยร่วมได้มากและพบบ่อย เช่น ผนังหลอดเลือดหดตัว สาเหตุมักเกิดจาก Oxidative stress เช่น ความเครียด บุหรี่  หรืออุณหภูมิที่หนาวเย็นจัด จนเกิดอาการปลายนิ้วชา เนื่องจากหลอดเลือดฝอยหดตัว ที่เรียกปรากฏการณ์เรโนด์ (Raynaud ‘s phenomenon) ภาวะหลอดเลือดหดตัวนี้อาจเป็นเพราะขาดแคลเซียม แมกนีเซียม น้ำมันปลา สารต้านอนุมูลอิสระ…หนทางแก้ไขจึงควรนึกถึง สารอาหารเหล่านี้ รวมทั้งฝึกสมาธิ หายใจลึกๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียด รวมถึงการออกกำลังกายพอประมาณ  ช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น
  2. อีกเหตุหนึ่ง คือหลอดเลือดแข็ง ขาดความยืดหยุ่น เนื่องจากมีไขมันเกาะ แคลเซียมเกาะ พลักที่เกิดจาก Oxidative stress กระทำต่อ LDL จน LDL กลายเป็นพิษ เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวแมคโครเฟ็จ มาทำลายโดยเก็บกลืนเข้าไปมาก ยังผลให้เซลล์แมคโครเฟ็จหมดสภาพ กลายเป็นโฟมเซลล์ เกาะที่ผนัง ก่อเกิดการแข็ง อุดตันตามมา การแก้ไขจึงไปอยู่ที่น้ำมันปลา เบต้ากลูแคน เลี่ยงไขมันร้าย ของทอด ไขมันทรานส์ เพิ่มแมกนีเซียม เพื่อเป็นปัจจัยสร้างเลซิทินให้ผนังหลอดเลือดอ่อนนุ่ม แข็งแรง สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยได้มาก  คือ โอพีซี  และกลูต้าไทโอน
  3. นอกจากไขมันเกาะแล้ว ผนังหลอดเลือดยังเกิดอุดตัน ตีบ หนา หรือแคบลง ปิดกั้นการไหล จากการเกิดอักเสบเนื่องจากอินซูลินสูง, โฮโมซีสทีนสูง, ภาวะที่ยืนนาน หรือหลอดเลือดดำถูกปิดกั้นการไหล จากครรภ์กดทับ มีริดสีดวงทวาร คั่งเลือด หรือภาวะอ้วน ตลอดจนการที่เลือดไหลผ่านอวัยวะต่างๆ ได้ไม่ดี เกิดอักเสบของไต ปอด หรือตับตามมา การป้องกันจึงอยู่ที่งดแป้ง น้ำตาล ของหวาน รวมทั้งข้าวขาว  เพิ่มวิตามินบี  น้ำมันปลา พยายามเลี่ยงหรือลดสภาวะ ที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว  หากมีโรคเฉพาะอวัยวะ ก็ต้องพบแพทย์ บทบาทสำคัญหนึ่งของแมกนีเซียมต่อความดันเลือด จึงนอกจากการคลายตัวของผนังหลอดเลือด ลดภาวะกรดในกระแสเลือด แล้ว ยังเป็นตัวเร่งเอนไซม์ (co factor)  ในกระบวนการสร้างเลซิทิน   ซึ่งหากขาดเลซิทินย่อมขาดตัวลด LDL หรือตัวเพิ่ม HDL ทำให้ LDL เป็นพิษ เกิดฝังเกาะที่ผนังหลอดเลือด ก่อเกิดเลือดแข็ง และปิดกั้นการไหล
  4. อีกสาเหตุของความดันเลือดที่เพิ่มขึ้น อาจเป็นจากน้ำในท่อ คือ เลือดหนืดขึ้น เช่น กรณีที่อยู่บนที่สูงซึ่งมีออกซิเจนน้อย ร่างกายอาจปรับตัวให้มีเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงสูง gหนืด แต่ที่พบบ่อยหรือเป็นสาเหตุหลัก  คือ ภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูง หรือเบาหวานนั่นเอง…
  5. มลพิษหรือสารเคมีบางอย่าง ก่อให้มีเกล็ดเลือดมากเกิน ส่งผลให้เลือดข้น  เช่น  บุหรี่  ไขมัน  ผงชูรส  ก่อสภาวะกรด  หนทางแก้ คือ ใช้สภาวะด่าง เช่น น้ำโออาร์พีลบ น้ำแร่ ผักผลไม้ แมกนีเซียม ช่วยสร้างสภาวะด่าง น้ำมันปลา ก็ช่วยคลายการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
  6. ความกดดันรอบนอกหลอดเลือด เช่น โซเดียมสูง ผงฟู น้ำตาลเทียม ทำให้เนื้อเยื่ออุ้มน้ำ เกิดอาการบวม กดดันหลอดเลือด ส่งผลให้ความดันเพิ่ม ในกรณีนี้จึงต้องเพิ่มโปแตสเซียม จากผักผลไม้ ซึ่งจะไปผลักดันโซเดียมออกไป ตลอดจนระมัดระวัง ลดปริมาณโซเดียมจากอาหารเค็ม ของหมักดอง ผงชูรส การเพิ่มวิตามินบี6 ก็มีส่วนร่วมในการช่วยขับน้ำได้
  7. แม่ปั๊ม ที่ไม่สามารถรับน้ำไหลกลับได้ดีพอ ในกรณีเป็นระบบปิด ก็เป็นเหตุให้ความดันตัวล่างสูง คาได้ อันเป็นนัยสำคัญบ่งถึงความรุนแรงของความดันสูง ไม่น่าเชื่อว่า มีรายงานวิจัยถึงผลของโคคิวเทนต่อการลดความดันเลือดโดยเป็นการช่วยลดความดันไดแอสโตลิค(ตัวล่าง) ซึ่งน่าจะอธิบายกลไกได้ว่า เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจได้รับโคคิวเทนจนไม่เกิดอาการขาด คือ ทุกไมโตคอนเดรียของเซลล์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ การหดตัวของหัวใจห้องบน (Atrium) ย่อมดีขึ้นด้วย ทำให้หัวใจห้องขวาบน บีบเลือดลงสู่ห้องล่างได้มากขึ้น ส่งผลให้แรงดันในหลอดเลือดดำลดลง มีผลให้เลือดแดงซึมถ่ายเทผ่านเนื้อเยื่อได้สะดวกขึ้น เป็นการลดปริมาณเลือดในหลอดเลือดแดง  ความดันในขณะหัวใจห้องล่างคลายตัว จึงลดลงด้วย ยิ่งหากเสริมด้วยการได้แมกนีเซียมเพียงพอ ทำให้ทุกห้องหัวใจคลายตัวได้เต็มประสิทธิภาพ การไหลเวียนเลือดดำกลับสู่หัวใจได้เพิ่มขึ้น ความดันตัวล่างก็ยิ่งลดได้ดี
  8. แนวทางการใช้ชีวโมเลกุลช่วย คือ การให้เซลล์ของต่อมไพเนียล ไปสร้างเสริมต่อมไพเนียลให้สร้างสารคลายเครียด หลั่งสารสุข และเมลาโทนินให้หลับได้ รวมถึงต่อมหมวกไตและเซลล์ของอวัยวะรวม หากมีอาการทางไตก็ให้เซลล์ไตร่วมด้วย 

สรุปการลดความดันเลือด จึงต้องครอบคลุมตั้งแต่ การสร้างสภาวะด่างจากผักผลไม้น้ำตาลต่ำ เสริมด้วยวิตามินบีรวม น้ำมันปลา แมกนีเซียม โคคิวเทน และโอพีซี รวมถึงการใช้ชีวโมเลกุลซ่อมเซลล์ของอวัยวะที่เกี่ยวข้อง

        ยังมีเรื่องของความดันเลือดต่ำ ซึ่งมิใช่โรค แต่เป็นภาวะชั่วคราว มักเกิดจากยารักษาความดัน ยานอนหลับ กล่อมประสาท รวมไปถึงภาวะขาดธาตุเหล็ก ก็น่าจะเป็นสาเหตุร่วมได้ ซึ่งหากความดันตัวบน (Systolic BP) ไม่ต่ำกว่า 90 มม.ปรอท ในท่ายืน ก็ไม่เป็นอันตราย ไม่ต้องรักษา ในภาวะนี้โคคิวเทน แมกนีเซียม วิตามินบี น่าจะช่วยได้มาก

สามประสานแห่งภูมิชีวิต ได้แก่ อาหาร การออกกำลังกายที่พอเหมาะ และพลังจิต เป็นภูมิต้านทานที่สำคัญ

 

โคคิวเทน  ช่วยลดความดันได้อย่างไร?

        จากระบบหัวใจหลอดเลือด เปรียบเสมือนปั๊มน้ำวงจรปิด คือ เลือดแดงถูกปั๊มออกจากหัวใจห้องล่างซ้าย ไปสู่อวัยวะ แล้วซึมผ่านเนื้อเยื่อด้วยระบบหลอดเลือดฝอย เข้าหลอดเลือดดำ เข้าสู่ห้องบนขวาของหัวใจ ห้องบนขวาจะบีบตัวส่งเลือดเข้าสู่ห้องล่างขวา เพื่อให้ห้องล่างขวาส่งเลือดดำไปฟอกที่ปอดฟอกได้เลือดดีแล้วจึงไหลจากปอดสู่ห้องบนซ้าย เพื่อบีบตัวเข้าห้องล่างซ้าย  เป็นครบวงจร

       ช่วงเวลาที่ห้องล่างของหัวใจบีบตัว เราเรียก  Systole ความดันเลือดที่วัดได้ในจังหวะนี้คือ  Systolic pressure หรือ  ความดันตัวบน ห้วงที่ห้องล่างคลายตัวก็เป็นจังหวะที่ห้องบนบีบตัวส่งเลือดผ่านลิ้นหัวใจ  เข้าสู่ห้องล่าง ช่วงจังหวะนี้เรียก Diastole ความดันในช่วงนี้เรียก  Diastolic pressure หรือ  ความดันตัวล่าง

        การได้โคคิวเทนเต็มพิกัดจะทำให้หัวใจห้องบนบีบตัวได้เต็มร้อย ผลคือเลือดไหลสู่ห้องล่างของหัวใจได้เต็มที่ หลอดเลือดดำจึงว่างพร้อมรับปริมาณเลือดซึมซับผ่านเนื้อเยื่อและเส้นเลือดฝอยได้สะดวก ส่งผลให้เลือดในหลอดเลือดแดงผ่านเข้าหลอดเลือดฝอยสู่เนื้อเยื่อได้คล่อง แรงต่อต้านหรือความดันในหลอดเลือดแดงจึงลดลง

        อีกคำอธิบายหนึ่งของกลไกลดความดันด้วยโคคิวเทนคือ อธิบายด้วย Acetyl choline (AcCh) กับAdrenaline สองสิ่งที่กล่าว  ออกฤทธิ์แรงแข็งขันพอๆ กัน คือ ทำให้ร่างกายมีพลังมหาศาลชั่ววูบ เช่น ออกแรงวิ่ง  ยกของหนัก ผลักสิ่งกีดขวางได้เกินกำลังปกติ ซึ่งปัจจัยก่ออันหนึ่ง  คือ จิตใจ หรืออารมณ์ ในยามอารมณ์สงบ จิตใจดี AcCh จะเป็นตัวหลั่งทำให้แรงดีกระปรี้กระเปร่า  รับสิ่งเร้าอย่างสร้างสรรค์  ความดันไม่ขึ้น แต่ในยามรบ ไม่สบอารมณ์ หรือต๊กกะใจ  Adrenalineก็หลั่ง เกิดพลังชั่ววูบ และเป็นวูบที่ความดันเลือดขึ้นมาด้วย ทีนี้เราทราบว่าโคคิวเทนเป็นผู้ร่วมก่อสร้าง AcCh  จากสารตั้งต้น คือ โคลีน พอขาดโคคิวเทนก็พาดพิงไปถึงการขาด AcCh  ตัวควบคุมความดัน  Adrenaline  ก็เลยออกฤทธิ์โดด คือ ความดันขึ้น พอได้ปัจจัยต้านกลับมาก็ดีขึ้น  

        ไม่ว่าจะอธิบายอย่างไร ผลวิจัยที่รายงานไว้ คือ ใช้โคคิวเทนช่วยลดความดันเลือดตัวล่างได้อย่างมีนัยสำคัญ อีกบทบาทของโคคิวเทนคือ ในฐานะ Antox ช่วยลดพิษ ต้าน OS ที่จะมากระทำต่อ LDL เช่นเดียวกับ โอพีซี และกลูต้าไทโอน (glutathione) 

        ในกรณีนี้ โอพีซี หรือโคคิวเทน มิได้เป็นตัวลดความดันเลือดโดยตรง แต่เป็นบทบาทปกป้องปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการตีบแข็งของหลอดเลือด ภาวะที่หลอดเลือดตีบแข็ง = ไม่ยืดหยุ่น ย่อมเป็นปัจจัยก่อความดันเลือดเพิ่มนั่นเอง

 

กลไกลดความดันเลือดของแมกนีเซียม (Mg)

  1. จากผัง  ปั๊มน้ำวงจรปิดของหัวใจฯ หากขาดแมกนีเซียม การคลายตัวของกล้ามเนื้อย่อมหย่อนไป เมื่อมีแมกนีเซียม เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดี กรณีของหัวใจห้องขวาบน เมื่อคลายตัวดี  ผนังกล้ามเนื้อหัวใจย่อมขยายได้เต็มพิกัด ทำให้เลือดดำไหลเข้าหัวใจได้เต็มที่ผลลัพธ์เสริมประสานกับกลไกช่วยหดตัวของโคคิวเทน
  2. อีกประการหนึ่ง ผนังหลอดเลือดแดงและดำ  เมื่อคลายตัวได้ดี ทำให้รูท่อขยายยืดหยุ่นดี ความดันย่อมลด จากการที่รับปริมาณเลือดได้มากขึ้น
  3. แมกนีเซียมลดภาวะกรดในกระแสเลือด เนื่องจากภาวะกรด เป็นภาวะขาดออกซิเจน เลือดหนืดข้น หากมีแมกนีเซียม  มาสะเทินให้เข้าสู่สภาวะด่าง  ย่อมไหลลื่นดีขึ้น
  4. ประการสุดท้ายแมกนีเซียมเป็น cofactor ในกระบวนการสร้างเลซิทิน เลซิทินเป็นตัวลด LDL  เพิ่มHDL ซึ่งหากLDLเพิ่ม  HDLไม่เพิ่ม LDL ย่อมถูก  Oxidative  Stress  จากอนุมูลอิสระได้ง่ายและมาก เกิดเป็นสภาวะพิษ ทำให้แมคโครเฟ็จต้องมาจับกลืนกิน  กินมากไปก็ก่อเกิดโฟมเซลล์  จับเกาะผนังหลอดเลือด  รอวันแตก  หรือแข็งตีบตันต่อไป

 

กลไกลดความดันเลือดของน้ำมันปลา

  1. n3 (โอเมก้า3) น้ำมันปลาเป็นส่วนประกอบสำคัญของผนังเซลล์ ผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังยืดหยุ่นสมบูรณ์  สารอาหารซึมผ่านได้ หากขาดซึ่ง n3 ผนังเซลล์ย่อมแข็งกระด้าง  ผนังหลอดเลือดแข็ง  ไม่ยืดหยุ่นตามจังหวะการบีบตัวของหัวใจgปิดกั้นการไหล g ความดันย่อมจะเพิ่มขึ้น
  2. Oxidative stress เช่น บุหรี่ ไขมัน  ผงชูรส ทำให้เกล็ดเลือดจับกลุ่มกันเหนียว g เลือดหนืด g ความดันเพิ่มน้ำมันปลา เป็นตัวช่วยคลายการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
  3. n3 น้ำมันปลาช่วยลดสัดส่วนของ n6  คือต้านอักเสบจากการที่มี  n6 มากเกินไป  ที่ใดมีอักเสบ ย่อมบวม แดง ร้อน เนื้อเยื่อที่อักเสบจึงลดความยืดหยุ่นของหลอดเลือด ในการขยายออกรองรับแรงปั๊มที่มาจากหัวใจ เมื่อไม่หยุ่นความดัน ขณะหัวใจบีบตัว (ซีสโตลี) ก็ย่อมเพิ่มได้

 

กลไกลดความดันเลือดของโคลีน และวิตามินบี

        กรณีอาหารโปรตีนเนื้อนมไข่สูง g โฮโมซีสทีน (Homocysteine)สูง โฮโมซีสทีนเป็นตัวทำให้หลอดเลือดอักเสบ แข็ง ตีบตัน ตามมาผลลัพธ์ร่วม คือ ความดันเลือดเพิ่มเพราะเลือดไหลไม่สะดวก เราทราบว่า โฮโมซีสทีน  แปรผกผันกับ โฟลิค + บี6 + บี12 เพราะวิตามินบี เหล่านี้เป็นตัวร่วมก่อปฏิกิริยา กับ TMG (trimethylglycine) ในการแปลงโฮโมซีสทีน กลับไปเป็นซีสทีน (cystein) กับเมธิโอนีน  (methionine) TMG มาจากโคลีน (Choline)  ได้ทางหนึ่ง

        โคลีน + โฟลิค + บี6 + บี12 จึงเป็นตัวลดโฮโมซีสทีน…จึงเป็นตัวลดความดันเลือดทางอ้อม อีกประการหนึ่งโคลีน  ร่วมกับบี6 เป็นสารตั้งต้นสร้างซีโรโทนิน ซีโรโทนิน เป็นตัวเริ่มต้นของเมลาโทนิน เมลาโทนินเป็นแบบที่เขาแจกบนเครื่องบิน เพื่อช่วยให้หลับสบาย (แก้ jetlag)เมื่อหลับได้ ย่อมคลายเครียดหากไม่เครียด ความดันก็ไม่ขึ้น

 

แล้วสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดความดันได้อย่างไร

        เราทราบดีว่า สารต้านอนุมูลอิสระ เป็นตัวสกัดกั้นทำลายอนุมูลอิสระ หรือต้านทาน Oxidative stress ทั้งหลาย ในกรณีของไขมันเลว  LDL cholesterol หากถูก Oxidative stress ช่วงที่ LDL อยู่ในชั้นใต้เยื่อบุผิว ย่อมก่อให้ LDL กลายเป็นพิษ ทำให้ต้องมีเม็ดเลือดขาว  แมคโครเฟ็จมาจับกลืนกิน ผลสุดท้าย คือ เกิดพลักเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้แข็ง ตีบตัน การแข็งตีบตัน ของผนังหลอดเลือดก็ทำให้น้ำ(เลือด) ไหลไม่สะดวก  จะให้ไหลได้ก็ต้องเพิ่มความดัน

       แล้วหากเลี่ยง LDL คอเลสเตอรอลทั้งหลายไม่ได้ จะทำอย่างไรให้ไขมันเลว LDL ไม่ก่อพิษ คำตอบคือ อย่าให้ LDL กระทบ Oxidative stress จากอนุมูลอิสระ จะไม่โดนอนุมูลอิสระทำร้าย ก็ต้องมีตัวกำจัด หรือสกัดกั้นอนุมูลอิสระ… ก็มาถึงบทบาทของสารต้านอนุมูลอิสระทรงพลัง  ได้แก่โอพีซี และกลูต้าไทโอน กรดแอลฟาไลโปอิค โคคิวเทน และวิตามินซี

       ดูเหมือนว่า โอพีซีมิได้เป็นตัวลดความดันโดยตรง แต่เป็นบทบาทปกป้องปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการตีบแข็งของหลอดเลือด อันเป็นที่มาของความดันสูงทางหนึ่งนั่นเอง ชีววิถีที่ถูกต้องช่วยลดความดัน นอกเหนือจากยารักษาความดันที่แพทย์สั่ง โดยหากปฏิบัติได้ดีจะช่วยลดยา ตลอดจนงดใช้ยาลดความดันเลือดได้ในที่สุด

 

 

*  สรุปการลดความดันเลือด

  1. ใช้โคคิวเทน (30 มก.) 1x3 ถึง 2x3 เป็นสิ่งสำคัญสุด
  2. อย่าให้ขาดแมกนีเซียม ควรได้วันละ 6 mg/kg  น้ำหนักตัว
  3. อย่าให้ขาดน้ำมันปลา ควรได้วันละ 1x3
  4. อย่าให้ขาดโคลีน และบีรวม ควรได้วันละ 1x2
  5. ในช่วง 10 – 30 วันแรกควรซ่อมหัวใจ และหลอดเลือด นั่นคือ ใช้หลักชีวโมเลกุล เซลล์ซ่อมเซลล์ ได้แก่ เซลล์ของหัวใจ ไพเนียล สมอง ม้าม หมวกไต อย่างละ 1x2 ร่วมกับอวัยวะรวม 1x1 แล้วงดได้เมื่อผลเป็นที่น่าพอใจ
  6. ออกกำลังกาย 60% MHR วันละ 30 – 45 นาที (ดู “คำศัพท์ในแวดวง”)
  7. ลดน้ำหนักให้เข้าเกณฑ์ BMI 18.5 – 25 โดยทุกๆ 1 กก. ที่ลดน้ำหนักได้ (เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน) จะทำให้ความดันเลือดเฉลี่ยลดลง 1 มม.ปรอท
  8. งด/ลดบริโภคไขมันอิ่มตัวสายโมเลกุลยาว ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ เป็นต้น เพราะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้น
  9. ลดเกลือ Na รวมถึงเกลือที่ไม่เค็ม ได้แก่ Mono sodium  glutamate  จากผงชูรส
  10. ลดบริโภคอาหารที่มีฟอสเฟตสูง  เช่น น้ำอัดลม ซึ่งมีกรดฟอสฟอริคมาก 
  11. ลดสุรา แอลกอฮอล์
  12. งดสูบบุหรี่ บุหรี่เป็นปัจจัยเร่งการเกิดการแข็งตีบตันของหลอดเลือดทั่วไป และหลอดเลือดหัวใจ อีกทั้งเร่งให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น
  13. พยายามหลีกเลี่ยงสารพิษให้มาก เช่น ควันพิษ ยาฉีดฆ่าแมลง สารพิษปนเปื้อน และถนอมอาหาร แป้ง น้ำตาล น้ำหวาน อาหารสภาวะกรด โปรตีน  ไขมัน คาร์โบไฮเดรต พอประมาณ – ไม่มาก ล้นเกิน ตลอดจนความเครียดทางอารมณ์
  14. สร้างสภาวะด่างจากผักผลไม้น้ำตาลต่ำ แต่ต้องระวังสารพิษปนเปื้อน ผักปลอดสารพิษเป็นสิ่งจำเป็น และผักสวยงามทั้งหลายล้วนพึงระวัง  เพราะล้วนมีสารพิษตกค้างสูง ยกเว้นผักที่ขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ยอดกระถิน ตำลึง เป็นต้น
  15. ฝึกสมาธิ คลายเครียด นอนหลับได้

EasyCookieInfo