ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

ปัญหาสุขภาพทั่วไป

ไมแอสทีเนีย แกรวิส

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ไมแอสทีเนีย แกรวิส (MG) เป็นโรคที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อเล็กๆ บริเวณใบหน้า แต่ถ้าเป็นมากอาจมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อทั่วตัว รวมทั้งกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจ

สาเหตุ 

        เกิดจากการลดลงของตัวรับสื่อประสาท (Acetylcholine Receptor–AchR) ที่จะเชื่อมต่อระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อ (neuromuscular junction : NM) หรือ Motor end Plate เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันผิดปกติ (auto antibody) เกิดต่อ AchR

        ได้มีการพัฒนาความรู้ การทดลองในสัตว์ เพื่อช่วยวินิจฉัยค้นคว้า จนในปัจจุบัน MG นับเป็นโรคทางภูมิเพี้ยน (Autoimmune) ที่มีข้อมูลหลักฐานจากการศึกษาต่างๆ มากที่สุด ใช้เป็นต้นแบบสำหรับโรคภูมิเพี้ยนอื่นๆ

 

อุบัติการณ์ 

เป็นโรคที่พบไม่บ่อย และหายยาก อาจเกิดวิกฤติถึงชีวิตจากโรคแทรก

 

การวินิจฉัย 

        แพทย์จะอาศัยประวัติ และตรวจร่างกายเป็นสำคัญ การตรวจต่างๆ ที่ช่วยวินิจฉัย เช่น ให้สาร Acetylcholinesterase Inhibitor ได้แก่ Tensilonหรือ Prostigmine โดยฉีดแล้วสังเกตอาการเสียงเปลี่ยน, หนังตาตก หรือทำ Electrophysiological test กระตุ้นเส้นประสาทแล้ววัดผลตอบรับที่ลดน้อยตามลำดับ ตลอดจนการตรวจหาภูมิคุ้มกัน (Antibody) ต่อ AchR ด้วยวิธีเคลือบสารรังสี การตรวจหาความผิดปกติของต่อมไทมัส ฯลฯ

 

กลไกการเกิดโรค 

        พบว่าผู้ป่วย MG มีจำนวนตัวรับสื่อประสาทอยู่เพียง 1 ใน 3 ของคนปกติตัวรับสื่อประสาทที่น้อยนี้น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง

        ความผิดปกติเป็นผลจากภูมิคุ้มกัน (Antibody) ไปจับกับตัวรับสื่อประสาทที่ N – M junction โดยมีหลักฐานบ่งชี้ว่า MG เป็นโรคภูมิเพี้ยนที่มีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อตัวรับสื่อประสาทปกติของร่างกายเอง เช่น พบภูมิคุ้มกันต่อตัวรับสื่อประสาทในเลือดของผู้ป่วย MG ถึง 80 – 90% เมื่อตรวจด้วยวิธีเคลือบสารรังสี ตรวจพบ IgG ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น จับอยู่กับตัวรับสื่อประสาท โดยเมื่อนำ IgG นี้ไปฉีดในหนู ก็ทำให้หนูเกิดอาการ  MG ได้

        การรักษาที่ทำให้ระดับของภูมิคุ้มกันต่อตัวรับสื่อประสาทลดลง ด้วยการให้ยากดภูมิคุ้มกันจะช่วยให้ผู้ป่วย MG มีอาการดีขึ้น พบว่าผู้ป่วย MG บางรายมีโรคภูมิเพี้ยนอื่นๆ เช่น SLE สะเก็ดเงิน รูมาตอยด์ ร่วมด้วย

การที่จำนวนตัวรับสื่อประสาทลดน้อยลงทำให้ไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นใยกล้ามเนื้อให้หดตัวได้ตลอด เส้นใยกล้ามเนื้อจึงอ่อนแรง โดยเฉพาะเมื่อถูกกระตุ้นซ้ำๆ

        เชื่อว่า MG มีเหตุเกี่ยวข้องกับต่อมไทมัส โดยพบการขยายตัว (Hyperplasia) ของต่อม 85% อีก 15% เป็นภาวะเนื้องอก (Thymoma) นอกจากนี้ยังพบเซลล์คล้ายเซลล์กล้ามเนื้อที่เรียก myoid cells ซึ่งที่ผิวของเซลล์เหล่านี้จะมี AchR อยู่ อันสันนิษฐานได้ว่า myoid cell นี้เป็นตัวกระตุ้นให้ก่อภูมิเพี้ยนขึ้นมา

        บางทฤษฎีเชื่อว่าภาวะภูมิเพี้ยนใน MG เกิดจากการกระตุ้นโดยการติดเชื้อบางอย่าง หรือเกิดภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโรคบางชนิด แล้วมีผลเป็นภูมิต้านต่อตัวรับสื่อประสาท ภูมิคุ้มกันต่อตัวรับสื่อประสาทที่สร้างจากเม็ดเลือดขาวชนิด B–Cell lymphocyte เป็นสาเหตุของ MG แต่ก็พบว่า T–Lymphocyte (เซลล์นักสืบ) ก็มีส่วนร่วมด้วย

        กลไกที่ T–Cell มีส่วนก่อโรคคือ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอม (Antigen–Ag) ซึ่งเป็นเปปไทด์ (peptide) ปรากฏอยู่ที่ผิวเซลล์ จะเกิดการกระตุ้น T–Cell ให้เข้าใจผิดว่าเป็นศัตรู จึงส่งสัญญาณให้ B–Cell เข้าจับทำลายสิ่งนั้น

 

หลักการรักษาแผนปัจจุบัน 

        เดิม MG จัดเป็นโรคที่รุนแรงมีอัตราตายสูง จากภาวะหายใจล้มเหลว แต่ผลการศึกษาค้นคว้า ทำให้ปัจจุบันนี้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อัตราตายลดลง จากการใช้ยาที่ช่วยเพิ่มตัวรับสื่อประสาทที่จุดเชื่อมประสาทกับกล้ามเนื้อ โดยไปลดการทำงานของ Cholinesterase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำลายตัวรับสื่อประสาท การผ่าตัดต่อมไทมัสออกในผู้ป่วยอายุ 15 – 60 ปี เพื่อกำจัดแหล่งของสิ่งแปลกปลอม เช่น เซลล์กล้ามเนื้อแปลกปลอม และ B–Cell lymphocyte

การให้ยากดภูมิคุ้มกัน

        การเปลี่ยนเลือดให้สร้างภูมิต้านทานต่อภูมิคุ้มกันที่ผิดเพี้ยนทั้งนี้ขึ้นกับระดับความรุนแรงของโรค โดยพบว่ายาในกลุ่ม Anticholinesterase เป็นยาที่ดีมาก (เช่น Mestinon 60 มก.) แต่ต้องปรับยาให้ถูกต้อง มากไปอาจเกิดภาวะหายใจล้มเหลว

        ผู้ป่วยโรคนี้มีข้อที่ต้องระวังในการใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจุดเชื่อมประสาทกับกล้ามเนื้อ อันทำให้โรค MG เลวลงได้แก่ D– Penicillamide, Chloroquine (ยาต้านมาเลเรีย), Procainamide, ยากันชัก เช่น diphenylhydantoin + trimethadone ตลอดจนยากลุ่ม Aminoglycoside เช่น Amikacin, Gentamicin, Kanamycin, Neomycin, Nitilmicin, Streptomycin, Tobramycin, Penicillin, Sulfonamide, Tetracyclin, Quinolone, Clindamycin ล้วนเกิด N – M Blocking ได้

        ยา Beta Blocker ในโรคหัวใจ Calcium antagonist, procainamide, bretylium, quinine, quinidine, steroid, succinylcholine, alpha–tubercurarine, phenothiazine, lithium, benzodiazepine (diazepam) ก็ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น

 

ความรู้สู้ MG

  1. จากการที่ภูมิเพี้ยนมักเป็นผลกดดัน หรือถ้าเริ่มจากมลพิษ (Oxidative stress) การให้สารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง เช่น โอพีซี (สารสกัดจากเมล็ดองุ่น, มังคุด, มะเม่า ฯลฯ) ตลอดจนกลูต้าไทโอน วิตามินซี โคคิวเทน น่าจะช่วยได้โดยไม่พบพิษ หรือไปขัดขวางกระบวนการของยาที่ใช้อยู่ประจำ และยังช่วยเสริมร่างกายให้สามารถลดหรือหยุดการใช้ยาลงได้
  2. การฉีด Ig เข้าหลอดเลือดดำ เป็นการให้ Ag ไปลบล้างภูมิคุ้มกันส่วนเกินนั้นได้ผลดี แต่ราคาแพงมาก ส่วนการใช้สเตียรอยด์ก็ระงับได้ชั่วคราว ห้ามใช้ติดต่อกันนาน เนื่องจากมีพิษต่อกระดูก เกิดการติดเชื้อ การใช้สารทดแทนจากธรรมชาติ เช่น ไตรเตอร์พีนอยด์ กรดกาโนเดอริคจากเห็ดหลินจือสกัด ก็ให้ฤทธิ์ต้านอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น Ig ที่เพี้ยนไป โดยออกฤทธิ์คล้ายสเตียรอยด์ แต่ปลอดภัยจากพิษของสเตียรอยด์สังเคราะห์อีกทั้งเยอรมาเนียมในหลินจือ เป็นตัวปรับศักย์ไฟฟ้า กำจัดโลหะหนักอันอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของโรค MG ได้
  3. โอเมก้า3 EPA จากน้ำมันปลา ช่วยสร้างสารต้านภูมิคุ้มกันเกินเหตุ DHA ช่วยสร้างเซลล์สื่อประสาท 
    • โคลีน (Choline) หรือ เลซิทิน กับแมกนีเซียม ก็เป็นปัจจัยจำเป็นต่อการสร้าง AchR ตลอดจนหวังผลต่อการพัฒนาของจุดเชื่อมประสาทกับกล้ามเนื้อ
    • โคคิวเทน นอกจากต้านอนุมูลอิสระแล้วยังเป็นโคเอนไซม์จุดประกายการทำงานของกล้ามเนื้อที่ขาดไม่ได้ เช่นเดียวกับแมกนีเซียม ก็เป็นโคแฟกเตอร์จำเป็นต่อการคลายตัวของกล้ามเนื้อ
  4. หากมีการใช้เซลล์กล้ามเนื้อซ่อม เสริมสร้างเซลล์กล้ามเนื้อ ชดเชยส่วนที่ขาดหายไปก็เป็นตัวช่วยที่สมควรคาดหวัง โดยไม่เป็นสิ่งแปลกปลอมอันอาจไปฝังตัวที่ต่อมไทมัส
  5. การสร้างตัวรับสื่อประสาทยังต้องอาศัยการทำงานของต่อมไพเนียลที่แข็งแรง การกดภูมิคุ้มกัน ก็อาศัยการหลั่งฮอร์โมนของต่อมหมวกไต และต่อมใต้สมอง ที่เข้มแข็ง
  6. เลี่ยงภาวะที่ทำให้ MG เลวลง ได้แก่ ความเครียด อดนอน มีไข้ ติดเชื้อโรค 

        การใช้ชีวโมเลกุลเซลล์ซ่อมเซลล์ในเบื้องต้น ช่วยให้เซลล์ของอวัยวะต่างๆ กลับคืนสู่สภาพปกติที่สมบูรณ์ แข็งแรง ในเบื้องต้น แล้วดำรงสุขสภาวะของร่างกายด้วยสารอาหารที่ให้คุณประโยชน์ ปกป้องมลพิษ โดยไม่มีอันตราย หรือกระทบการใช้ยารักษาโรค นับเป็นการสร้างพื้นฐานสุขภาพที่สมควรเลือกปฏิบัติหากมีทุนทรัพย์เพียงพอ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต เมื่อหายแล้วก็สามารถเลิกใช้ชีวโมเลกุล และยาแผนปัจจุบันได้ คงไว้ซึ่งสารอาหาร ซึ่งหากเลือกหาได้จากปลา ผักผลไม้ธรรมชาติที่ปลอดสารพิษ ก็เป็นการเพิ่มสารพืช และใยอาหาร …แต่หากไม่สะดวก สารสกัดเสริมอาหาร ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ประหยัด และปลอดภัยกว่ายาทั้งหลาย

 

* สรุป การดูแลตนเอง ตามหลักสุขภาพพื้นฐาน

  1. สารเสริมที่รวม โอพีซี โคคิวเทน กลูต้าไทโอน วิตามินซี ขนาด 1x2
  2. น้ำมันปลา โคลีนบี และหลินจือสกัด อย่างละ 1x2 หรือ 1x3
  3. ใช้เซลล์กล้ามเนื้อ + ไพเนียล + ต่อมใต้สมอง และหมวกไต อย่างละ 1x2x10 และอวัยวะรวม 1x1x10
  4. จิบดื่มน้ำแมกนีเซียม
  5. เลี่ยงภาวะเครียด อดนอน ไข้ ติดเชื้อ ควันไฟ บุหรี่ สุรา ยาฆ่าแมลง ยาที่มีผลต่อระบบประสาท

ควรรีบพบแพทย์เมื่ออาการกำเริบ

EasyCookieInfo