ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

ปัญหาสุขภาพทั่วไป

เอสแอลอี SLE

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ไม่น่าเชื่อว่าจะมีผู้ป่วยเกี่ยวกับ SLE (Systemic Lupus Erythematosus …“โรคพุ่มพวงฯ”) เป็นจำนวนมาก SLE เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำร้ายตนเอง (Auto immune) ที่เรียกง่ายๆว่า “ภูมิเพี้ยน” ซึ่งเป็นกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ทำให้ปรากฏอาการต่างๆ ออกมา ในรูปแบบที่เรียก SLE เช่น อาจมีผื่นแดงรูปปีกผีเสื้อ ปอดบวม ปวดข้อ โดยเฉพาะยามกระทบแสงแดด

นอกจากพันธุกรรมแล้ว เข้าใจว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโรคในอดีต ยา หรือสารเคมี ฮอร์โมน ตลอดจน ภาวะกดดันจากอนุมูลอิสระ ทั้งหลายที่กระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจนผิดเพี้ยนไป ไม่มีคำอธิบายว่าเหตุใดจึงเกิดในผู้หญิงมากกว่าชายถึง 20 เท่า พบในช่วงอายุวัยเจริญพันธุ์เป็นส่วนใหญ่ 

อาการแสดงของ SLE

จากข้อมูลของรพ.จุฬา ที่พบว่ากว่าร้อยละ 70 ของผู้ป่วย SLE คือ มีไข้ ผื่นที่ผิวหนัง ปวดข้อ & กล้ามเนื้อ ไตอักเสบ โลหิตจาง ตลอดจนการตรวจเลือด ANF (antinuclear factor) แต่ไม่เฉพาะเจาะจงโรค และผล Complement ต่ำ 60% ตรวจ LE cell ได้ผลบวก

อาการรองลงไปที่อาจพบร่วมได้ คือ ตับโต ซีด ชาปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เมื่อกระทบอากาศเย็น (Raynaud’s phenomenon) หัวใจ ความดัน เยื่อหุ้มปอดอักเสบ ต่อมน้ำเหลือง ตลอดจนจิตประสาทผิดปกติไป

อาการที่พบได้บ่อยคือ

  1. มีผื่นแดงรูปปีกผีเสื้อ ที่สองข้างแก้ม (butterfly rash) ผื่นจะมีขอบนูน แดง
  2. ผื่นตามผิวหนัง
  3. มักมีผมร่วง
  4. อาการกำเริบเมื่อถูกแสงแดด
  5. มักพบแผลถลอกที่เยื่อบุช่องปากโดยไม่รู้สึกเจ็บ
  6. บางช่วงเวลาเกิดข้อบวมอักเสบมากกว่า 2 แห่ง
  7. เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
  8. เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  9. การตรวจปัสสาวะ พบไข่ขาว และเม็ดเลือดแดง บ่งบอกการอักเสบที่ไต
  10. ทำให้เลือดจาง เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดลดลง
  11. อาจมีอาการทางจิต ตลอดจนอาการชัก

ผลทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญคือ พบ LE(antinuclear antibody / antinuclear factor – ANF)   เป็นสารจำเพาะเกี่ยวกับภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้น เป็นโรคที่มีอาการเรื้อรัง มีขนาดความรุนแรงของอาการแตกต่างกัน  บางคนอาจไม่เกิดอาการรุนแรงเลยตลอดชีวิต โอกาสเสียชีวิตมีได้โดยเกิดจากผลของโรคต่อระบบหรืออวัยวะที่เกี่ยวข้องและยังเกิดได้จากผลการรักษา เช่น การใช้ยา สเตียรอยด์กดภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดโรคติดเชื้อง่ายและรุนแรง

ช่วงที่ผู้ป่วยอายุมากขึ้นก็อาจเกิดการแข็งตัวของหลอดเลือด (atherosclerosis) ซึ่งเป็นผลจาก SLE เอง

ที่น่าสังเกตคือ อาการทางข้อใน SLE แม้จะพบบ่อยมาก แม้จะปวดหลายข้อเล็กๆ พร้อมกัน แต่ไม่ค่อยมีพิการผิดรูป ซึ่งแตกต่างจากโรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เนื่องจากเป็นความผิดปกติของเนื้อเยื่อรอบๆข้อ โดยไม่มีการทำลายผิวข้อโดยตรง

หากพบภาวะโรคปวดกล้ามเนื้อและพังผืด (fibromyolgia) ซึ่งเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อแบบเรื้อรังหลายๆ ตำแหน่ง ร่วมกับมีจุดกดเจ็บ บ่งชี้ว่าผู้ป่วย SLE นั้น มักมีสุขภาพพื้นฐาน การดูแลตนเองไม่ดี

การวินิจฉัยโรคนี้

ต้องมี 4 ใน 11 อาการที่กล่าวแล้ว ร่วมกับ ANF และ LE เป็นบวก เมื่อวินิจฉัยแน่ชัดว่าเป็น SLE แล้ว แพทย์มักสั่งจ่ายยาแก้อาการ ได้แก่ กลุ่มยาแก้อักเสบ แก้ปวด เช่น แอสไพรินสเตียรอยด์ พร้อมให้เลี่ยงแสงแดด…เพียงแค่นี้…

แนวทางการต่อสู้ระดับโมเลกุล พื้นฐานของชีวิต ซึ่งน่าจะเป็นความหวังของผู้ป่วย ให้ลุกขึ้นลืมตาอ้าปาก พ้นจากโรคร้ายหรืออย่างน้อย ลดอาการรุนแรงลงได้มาก คือ เสริมกำลัง บำรุงเม็ดเลือดขาว ด้วยการหมั่นออกกำลังกายให้พอเหมาะ (60% MHR) รับประทานอาหารสุขภาพที่ถูกต้อง ตามหลักการพื้นฐานการดูแลโรคภูมิเพี้ยนแต่การกินยาสเตียรอยด์นานๆ โดยขาดชีววิถีที่ช่วยบำรุงภูมิต้านทาน รังแต่จะเกิดกระดูกผุ รอคอยโรคกำเริบวันใดวันหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อเกิดภาวะเครียด ร่างกายอ่อนแอ…แพ้ทางโรคภัย !

ในรายที่กินสเตียรอยด์อยู่ ควรเสริมแคลเซียม แมกนีเซียม ไอโซฟลาโวนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง รวมทั้งวิตามินดี3 ช่วยการดูดซึมของแคลเซียม เนื่องจากผู้ป่วยต้องเลี่ยงแดด ผู้ป่วยที่ได้ยาต้านมาเลเรีย เช่น คลอโรควิน มักมีการเสียโฟลิกด้วย จึงควรเพิ่มกรดโฟลิก ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน

สารต้านอนุมูลอิสระที่ดีคือ

  • โอพีซี ขนาด 300 มก. 
  • โคคิวเทน 100 มก.วันละ 3 เวลา
  • เบต้ากลูแคน
  • แมกนีเซียม
  • วิตามินเค
  • ซีลีเนียม และดื่มน้ำมากๆ
  • น้ำมันปลาก็มีบทบาทช่วยในกรณีอัตราส่วน n3:n6 (โอเมก้า3 ต่อโอเมก้า6) สูงเกินไปดังกล่าวแล้ว โดย n3 จากน้ำมันปลาจะปลดปล่อยสารพรอสตาแกลนดิน (สารลดอาการอักเสบ) ให้เพียงพอ ต่ออาการอักเสบที่เกิดจาก n6

มีรายงานถึงการรับประทานไข่ต้มสุก เพื่อเสริมโปรตีนวันละ 2 ฟอง ทุกวัน สามารถรักษาโรคเอสแอลอี ลดอาการอ้วนบวมจากสเตียรอยด์ ปรับระดับคอเลสเตอรอลสู่ปกติ ตลอดจนแก้ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ที่เกิดจากการทานธัญพืช เช่น ข้าวที่ผ่านการขัดสีมาก (มีผลทำให้ระดับน้ำตาลพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว กระตุ้นตับอ่อนผลิตอินซูลินออกมามากเกิน ส่งผลให้กวาดระดับน้ำตาลออกมาจากกระแสเลือดมาก จนเข้าภาวะน้ำตาลต่ำตามมา)

โดยไข่ที่ใช้ควรเป็นไข่ชีวภาพ คือ เลี้ยงแม่ไก่ด้วยอาหารธรรมชาติ ให้สัดส่วนโอเมก้า6 ไม่สูงมากเกิน มีกรรมวิธีปรุงให้สุกในเปลือก เพื่อป้องกันอ๊อกซี่คอเลสเตอรอล (จึงไม่ใช่ไข่ดาว, ไข่เจียว, ไข่ฟู หรือไข่คน ซึ่งไม่ได้ประโยชน์ในแง่นี้ แถมยังเป็นพิษต่อสุขภาพด้วย)

 

* สรุปแนวทางช่วยตนเองในผู้ป่วยเอสแอลอี

  1. ใช้ยาตามแพทย์สั่ง เสริมด้วยสุขภาพพื้นฐาน เพื่อค่อยๆ ลดปริมาณการใช้ยาอันตรายลงไป
  2. เซลล์ไทมัส, ไพเนียล และม้าม อย่างละ 1x3, อวัยวะรวม 1x1 (หรือเพิ่มสมอง 1x3 ด้วย)
  3. โอพีซี 1x3, โคคิวเทน 1x3 (อาจใช้ชนิดรวมในเม็ดเดียวกันได้)
  4. น้ำมันปลา 1x3, โคลีนบี 1x3, เบต้ากลูแคน 1x3
  5. ใช้น้ำละลายแมกนีเซียม จิบแทนน้ำดื่มตลอดวัน (ใช้ขนาดแมกนีเซียม 6 มก./กก.น้ำหนักตัวของผู้ดื่ม)
  6. ทานไข่ต้มสุกวันละ 2 ฟอง

EasyCookieInfo